ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535 (บรรพที่ 5 ครอบครัว)ได้แบ่งทายาทแห่งกองมรดกไว้ 2 แบบ คือ
1.ทายาทโดยธรรม กรณีที่ผู้ตายหรือเจ้ามรดกมีเจตนาแตกต่างจากที่กฎหมายกำหนดไว้ ย่อมมีอำนาจแบ่งสัดส่วนในมรดกได้เองโดยพินัยกรรม หากเขามิได้ทำพินัยกรรม การแบ่งมรดกต้องเป็นไปตามกฎหมายมรดกเท่านั้น ทายาทประเภทแรกคือ ทายาทโดยธรรมซึ่งกฎหมายจัดลำดับชั้นไว้โดยคำนึงถึงประเพณีทางสังคมและความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับเจ้ามรดกเป็นหลัก ดังนี้
- ผู้สืบสันดาน
- บิดามารดา
- พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
- พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
- ปู่ ย่า ตา ยาย
- ลุง ป้า น้า อา
นอกจากนั้นกฎหมายยังกำหนดให้คู่สมรสที่มีทะเบียนถูกต้อง ถือเป็นทายาทโดยธรรมเป็นกรณีพิเศษ เมื่อมีการแบ่งมรดกต้องจัดให้คู่สมรสอยู่ในลำดับเดียวกับผู้สืบสันดานด้วย
นอกจากนั้นกฎหมายยังกำหนดให้คู่สมรสที่มีทะเบียนถูกต้อง ถือเป็นทายาทโดยธรรมเป็นกรณีพิเศษ เมื่อมีการแบ่งมรดกต้องจัดให้คู่สมรสอยู่ในลำดับเดียวกับผู้สืบสันดานด้วย
การแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรมมีหลัก คือ ถ้ามีทายาทลำดับต้นแล้ว พวกที่อยู่ถัดไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกเลย
ตัวอย่างเช่น เจ้ามรดกมีลูกซึ่งถือเป็นทายาทลำดับที่ 1 คือ ผู้สืบสันดาน ย่อมทำให้พี่น้อง ปู่ย่า ลุงป้าน้าอา ของคนตายหมดสิทธิ์รับมรดกอย่างเด็ดขาด เป็นต้น
แต่กฎหมายมีข้อยกเว้นเพื่อส่งเสริมความกตัญญูต่อบุพการีของเจ้ามรดก โดยกำหนดว่าถ้ามีผู้สืบสันดานรับมรดกแล้ว ห้ามตัดสิทธิ์การแบ่งมรดกแก่บิดามารดาเจ้ามรดกซึ่งต้องมีชีวิตอยู่ในขณะแบ่งมรดกกันด้วย โดยให้ถือว่ามีส่วนแบ่งเท่ากับทายาทชั้นบุตร แม้ว่าลำดับของบิดามารดาจะอยู่ที่สองก็ตาม
แม้จะมีการจัดลำดับทายาทโดยธรรมแล้ว กฎหมายมรดกยังกำหนดสัดส่วนที่คู่สมรสพึงได้รับร่วมกับทายาทลำดับต่างๆด้วย เช่น เจ้ามรดกมีลูก ซึ่งเป็นทายาทลำดับที่ 1 คู่สมรสจะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับพวกเขา ถ้ามีแต่ทายาทชั้นพี่น้อง หรือไม่มีลูก แต่มีพ่อแม่ซึ่งเป็นทายาทลำดับที่ 2 คู่สมรสจะได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง เป็นต้น
2.ทายาทตามพินัยกรรม ซึ่งเกิดจากเจตนาของเจ้ามรดกในการจัดแบ่งทรัพย์สินตามที่ตนต้องการเองและไม่จำกัดว่าต้องแบ่งให้ลูกหลานของเขาเท่านั้น บุคคลภายนอกอาจเป็นทายาทตามพินัยกรรมก็ได้ การเขียนพินัยกรรมจักทำด้วยตนเองหรือให้ทนายความช่วยจัดการก็ได้ แล้วยังสามารถลงทะเบียนพินัยกรรมไว้กับหน่วยงานรัฐเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันเจตนาก่อนตายของตนซึ่งป้องกันการโต้แย้งเรื่องเอกสารปลอมระหว่างทายาทด้วยกันได้ เมื่อเจ้ามรดกตาย การแบ่งมรดกต้องกระทำตามพินัยกรรมเท่านั้น จะไม่มีการนำวิธีแบ่งของกฎหมายมาใช้เด็ดขาด ยกเว้นมีทรัพย์สินนอกพินัยกรรมซึ่งคนตายมิได้เขียนไว้ จึงต้องนำการแบ่งมรดกตามกฎหมายไปใช้กับทายาทโดยธรรม
ตัวอย่างเช่น เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงหนึ่งให้ลูกคนโตเพียงคนเดียว ลูกที่เหลือจะไม่ได้รับมรดกเลย ต่อมาก่อนตายวันเดียวเขาซื้อที่ดินอีกแปลงหนึ่ง แต่ยังไม่ได้เขียนเพิ่มเติมในพินัยกรรม ที่ดินแปลงหลังนี้จะต้องจัดแบ่งแก่ทายาทโดยธรรมตามลำดับชั้นที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ลูกทั้งหมดของเจ้ามรดกมีสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้เท่าเทียมกัน เพราะมันไม่อยู่ในพินัยกรรม เป็นต้น
กฎหมายกำหนดประเภทและลำดับทายาท วิธีแบ่งมรดกไว้ชัดเจน แล้วยังเปิดโอกาสให้แสดงเจตนาที่แตกต่างจากกฎหมายได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดความวุ่นวายในสังคมและสร้างระบบครอบครัวให้มีระเบียบมากขึ้น นอกจากนั้นยังกำหนดว่าผู้ใดไม่มีทายาทรับสืบทอดมรดกตามกฎหมาย ให้ทรัพย์สินของเขาตกแก่แผ่นดินด้วย จึงไม่มีวันที่ทรัพย์มรดกจะขาดผู้สืบทอดได้เลย
ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ตลอดจะสัญญาซื้อขายที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน กรณีที่เป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกนั้น กฎหมายให้ทำสัญญากับผู้จัดการมรดกของผู้ตาย หรือกรณีที่ผู้จัดการมรดกแบ่งโอนชื่อให้ทายาทเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว ให้ทำสัญญากับเจ้าของที่ดินโดยตรง อย่างไรก็ตาม หากทายาทมีจำนวนมาก หรืออาจมีความเสี่ยงว่า ระหว่างทายาทกองมรดกมีข้อพิพาทระหว่างกันเอง ในการซื้อขายที่ดิน บริษัทผู้ซื้อควรจะให้ทายาททุกรายลงนามยินยอมพร้อมกันในการขายที่ดินมรดก หรือให้ทายาทตกลงกันให้ชัดเจนก่อนทำสัญญา และโอนซื้อที่ดิน